การตั้งค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในโปรแกรม SAP Business One
เพื่อรองรับการปรับลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายตามประกาศกระทรวงการคลัง ระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 30 กันยายน 2563 นั้น และเพื่อให้ระบบ SAP Business One สามารถคำนวณอัตราภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย เมื่อได้ทำการจ่ายชำระนั้น มีแนวทางในการจัดทำเอกสาร ดังนี้
การกำหนดรหัสภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
ทำการตั้งค่ารหัสภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายเพิ่ม Setup Withholding Tax Code โดยกำหนด รหัส (WTax Code) ดังตัวอย่างต่อไปนี้
โครงสร้าง รหัสภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
D = Discount
3 = ภ.ง.ด.3
5 = ภ.ง.ด.53
6 = ข้อ 6
รหัสที่ได้ D360 หมายถึง ภ.ง.ด.3 ข้อ 6 บริการ กำหนดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1.5 %
D560 หมายถึง ภ.ง.ด.53 ข้อ 6 บริการ กำหนดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย 1.5 %
1. การตั้งค่าไปที่ Module - Administration : Setup → Financials → Tax → Withholding Tax
หมายเหตุ : ใช้สำหรับรายการที่ตั้งหนี้เจ้าหนี้ (A/P invoice) , การตั้งเจ้าหนี้เงินมัดจำ (AP Down Payment Invoice) หรือการตั้งหนี้อื่นๆผ่าน Journal Entry ก่อนวันที่ 01/04/2020 แต่ทำการจ่ายชำระ (Outgoing Payment) หลังวันที่ 01/04/2020 (ในช่วงที่รัฐบาลลดอัตรา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย)
Withholding Tax Codes – Setup
1. WTax Code ระบุ รหัสภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. WTax Name ระบุ ประเภทเงินได
3. Account ระบุ รหัสบัญชีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
4. Withholding Tax Definition คลิกเพื่อระบุอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และวันที่มีผลเริ่มใช้
5. Update เมื่อระบุเรียบร้อยทำการ Update ข้อมูล
Withholding Tax Definition – Setup
1. Effective from วันที่มีผลสำหรับภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. Rate อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. เข้าไปที่หน้าจอ Business Partners Master Data เพื่อทำการเพิ่มอัตรา ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
Module - Business Partners : Business Partners Master Data → Tab Accounting → Tab Tax→ WTax Codes Allowed → จุดสามจุด
3. หากมีการทำเอกสารตั้งหนี้เจ้าหนี้ (A/P Invoice) หรือการตั้งเจ้าหนี้เงินมัดจำ (A/P Down Payment Invoice) ก่อน การเปลี่ยนอัตราภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยมีรอบจ่ายชำระ (Outgoing Payment) ในระยะเวลาที่มีการปรับลดอัตรา ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามที่รัฐบาลประกาศ
3.1 เข้าไปที่หน้าจอ ตั้งหนี้เจ้าหนี้ (A/P Invoice) หรือ การตั้งเจ้าหนี้เงินมัดจำ (A/P Down Payment Invoice) เพื่อทำการเปลี่ยนรหัสภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่บันทึกอัตราภาษีเดิมไว้ เป็นอัตราภาษีที่ปรับลดก่อนทำการจ่ายชำระ (Outgoing Payments)
4. หากมีการทำเอกสารตั้งหนี้เจ้าหนี้ที่ (Journal Entry) ก่อนการเปลี่ยนอัตราภาษีเงินได้ หัก ณ ที่จ่าย โดยมีรอบจ่ายชำระ (Outgoing Payment) ในระยะเวลาที่มีการปรับลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ตามที่รัฐบาลประกาศ
4.1. เข้าไปที่หน้าจอ Journal Entry เพื่อทำการเปลี่ยนรหัสภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่บันทึกอัตราภาษีเดิมไว้ เป็นอัตรา ภาษีที่ปรับลด ก่อนทำการจ่ายชำระ (Outgoing Payments)
หมายเหตุ :
1. หากรัฐบาลมีการประกาศให้ใช้อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายอัตราภาษีเดิม ให้กลับมาใช้ WTax Code เดิม 2. หากรัฐบาลมีการประกาศให้ใช้อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายใหม่ ให้สร้าง WTax Code ใหม่ อีกครั้ง